เกี่ยวกับฉัน

วันอังคารที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2555

สมรรถนะครู


สมรรถนะหลัก
สมรรถนะที่ ๑ การมุ่งผลสัมฤทธิ์: ความมุ่งมั่นในการปฏิบัติงานในหน้าที่ให้มีคุณภาพ ถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์ มีความคิดริเริ่มร้าสรรค์ และมีการพัฒนาผลงานให้มีคุณภาพอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ ๑.  คุณภาพงานด้านความถูกต้อง ครบถ้วน สมบูรณ์
๒.      ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ การนำนวัตกรรม/ ทางเลือกใหม่ๆ มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
๓.      ความมุ่งมั่นในการพัฒนาผลงานอย่างต่อเนื่อง
สมรรถนะที่ 2 การบริการที่ดี: ความตั้งใจในการปรับปรุงระบบบริการให้มีประสิทธิภาพ เพื่อตอบสนอง                    ความต้องการของผู้รับบริการ
ตัวบ่งชี้ ๑.  การปรับปรุงระบบบริการ
๒.  ความพึงพอใจของผู้รับบริการหรือผู้เกี่ยวข้อง
สมรรถนะที่ ๓ การพัฒนาตนเอง: การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ติดตามองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ             ในวงวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนาตนเองและพัฒนางาน
ตัวบ่งชี้ ๑.  การศึกษา ค้นคว้า หาความรู้ ด้วยการเข้าประชุมทางวิชาการ อบรม สัมมนา หรือวิธีการอื่นๆ
๒.  การรวบรวมและประมวลความรู้ในการพัฒนาองค์กรและวิชาชีพ
๓.  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นด้านวิชาการในหมู่เพื่อนร่วมงาน
สมรรถนะที่ ๔ การทำงานเป็นทีม: การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุน เสริมแรง ให้กำลังใจแก่เพื่อนร่วมงาน การปรับตัวเข้ากับบุคคลอื่นหรือแสดงบทบาทผู้นำ ผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
ตัวบ่งชี้ ๑.  การให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือ สนับสนุนเพื่อนร่วมงาน
๒.      การแสดงบทบาทผู้นำหรือผู้ตามได้อย่างเหมาะสม
๓.      การปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และกลุ่มคนที่หลากหลาย
๔.      การเสริมแรงให้กำลังใจ ส่งเสริมสนับสนุนเพื่อนร่วมงานในการปฏิบัติงาน

สมรรถนะประจำสายงาน
สมรรถนะที่ ๕ การออกแบบการเรียนรู้:
ตัวบ่งชี้ ๑.  ความรู้ ความเข้าใจเรื่องการออกแบบการเรียนรู้
๒.      ความสามารถในการออกแบบการเรียนรู้
๓.      การนำผลการออกแบบการเรียนรู้ไปใช้ในการจัดการเรียนรู้
สมรรถนะที่ ๖ การพัฒนาผู้เรียน:
ตัวบ่งชี้ ๑.  การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้แก่ผู้เรียน
๒.  การพัฒนาทักษะชีวิต สุขภาพและสุขภาพจิตของผู้เรียน
๓.  การปลูกฝังการเป็นประชาธิปไตยและความภูมิใจในความเป็นไทยให้กับผู้เรียน
๔.      การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
สมรรถนะที่ ๗ การบริหารจัดการชั้นเรียน:
ตัวบ่งชี้ ๑.  การจัดบรรยากาศ การจัดการเรียนการสอน
๒.  การจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียน / ประจำวิชา
๓.  การกำกับ ดูแลชั้นเรียน / ประจำวิชา

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

การจัดการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ

แบบฝึกหัด
   http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=smartkid

การออกเสียง
   http://www.starfall.com/

สื่อการเรียนการสอน
   http://www.krukrub.com/
   http://kroodee.fix.gs/
   http://intereladsd2.blogspot.com/2009/05/harcourt-leveled-readers-grade-1.html
   http://www.allkidsnetwork.com/

โครงงาน
   http://portal.in.th/english/pages/13149/

วิจัยในชั้นเรียน
    http://sites.google.com/site/prapasara/fak-ngan-sxn

วันจันทร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2555

มาตรฐานวิชาชีพครู


                 
มาตรฐานวิชาชีพครู เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพคุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ... ครู พ.. 2488 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน กล่าวคือ
                        1.  มาตรฐาน ด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
                        2.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติงาน
                        3.  มาตรฐาน ด้านการปฏิบัติตน

มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ ดังนี้
1)      วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง หรือ
2)      วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพ
   ทางการศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
3)      ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติ
   การสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน  ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา)
กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ
มาตรฐานที่ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9    ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์
มาตรฐานที่ 10  ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11  แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12  สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน  ได้แก่ตามจรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่ง
ปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1)  ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียน
แก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2)  ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์
อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3)  ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4)  ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และ
สังคมของศิษย์
5)  ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ
6)  ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ  เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7)  ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8)  ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9)  ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์  และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย
10) "ครูพึงศึกษาจรรยาบรรณ ครูทั้ง 9 ข้อให้เข้าใจอย่างท่องแท้และพึงปฏิบัติตามจรรยาบรรณครูทั้ง 9 ข้อนั้นเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอในทุก ๆ ลมหายใจตลอดชีวิตของการเป็นครู"


ที่มา http://www.moe.go.th/wijai/teacher.htm

Born to be a teacher.

ก้าวเข้าสู่ปีที่ 3 ในการเป็นครู  
   ต้องพัฒนาตนเองมากขึ้น
       ต้องค้นคว้า เรียนรู้เพิ่มเติม 
           ดูแลช่วยเหลือให้นักเรียนได้เกิดการเรียนรู้สูงสุด



สู้โว้ย